วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

เทคนิคการสอนทักษะการอ่าน

การอ่านภาษาอังกฤษ  มี 2  ลักษณะ คือ  การอ่านออกเสียง (Reading aloud) และ การอ่านในใจ  (Silent Reading )  การอ่านออกเสียงเป็นการอ่านเพื่อฝึกความถูกต้อง (Accuracy)  และความคล่องแคล่ว ( Fluency)  ในการออกเสียง  ส่วนการอ่านในใจเป็นการอ่านเพื่อรับรู้และทำความเข้าใจในสิ่งที่อ่านซึ่งเป็นการอ่านอย่างมีจุดมุ่งหมาย เช่นเดียวกับการฟัง  ต่างกันที่ การฟังใช้การรับรู้จากเสียงที่ได้ยิน ในขณะที่การอ่านจะใช้การรับรู้จากตัวอักษรที่ผ่านสายตา ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถเพิ่มพูนขึ้นได้  ด้วยเทคนิควิธีการโดยเฉพาะ  ครูผู้สอนจึงควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการอ่านให้แก่ผู้เรียนอย่างไรเพื่อให้การอ่านแต่ละลักษณะประสบผลสำเร็จ
1.   เทคนิควิธีปฏิบัติ
1.1 การอ่านออกเสียง   การฝึกให้ผู้เรียนอ่านออกเสียงได้อย่าง ถูกต้อง และคล่องแคล่ว ควรฝึกฝนไปตามลำดับ โดยใช้เทคนิควิธีการ ดังนี้
                (1)  Basic Steps of Teaching (BST)   มีเทคนิคขั้นตอนการฝึกต่อเนื่องกันไปดังนี้
- ครูอ่านข้อความทั้งหมด 1 ครั้ง / นักเรียนฟัง
             - ครูอ่านทีละประโยค / นักเรียนทั้งหมดอ่านตาม
             - ครูอ่านทีละประโยค / นักเรียนอ่านตามทีละคน ( อาจข้ามขั้นตอนนี้ได้ ถ้านักเรียนส่วนใหญ่อ่านได้ดีแล้ว)
             - นักเรียนอ่านคนละประโยค ให้ต่อเนื่องกันไปจนจบข้อความทั้งหมด
             - นักเรียนฝึกอ่านเอง
             - สุ่มนักเรียนอ่าน
(2)  Reading  for  Fluency ( Chain Reading)   คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนอ่านประโยคคนละประโยคอย่างต่อเนื่องกันไป เสมือนคนอ่านคนเดียวกัน  โดยครูสุ่มเรียกผู้เรียนจากหมายเลขลูกโซ่  เช่น ครูเรียก Chain-number One  นักเรียนที่มีหมายเลขลงท้ายด้วย 1,11,21,31,41, 51  จะเป็นผู้อ่านข้อความคนละประโยคต่อเนื่องกันไป หากสะดุดหรือติดขัดที่ผู้เรียนคนใด ถือว่าโซ่ขาด  ต้องเริ่มต้นที่คนแรกใหม่ หรือ เปลี่ยน Chain-number ใหม่
(3)  Reading and Look up คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนแต่ละคน อ่านข้อความโดยใช้วิธี อ่านแล้วจำประโยคแล้วเงยหน้าขึ้นพูดประโยคนั้นๆ อย่างรวดเร็ว คล้ายวิธีอ่านแบบนักข่าว
(4)  Speed Reading   คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนแต่ละคน อ่านข้อความโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ การอ่านแบบนี้ อาจไม่คำนึงถึงความถูกต้องทุกตัวอักษร แต่ต้องอ่านโดยไม่ข้ามคำ เป็นการฝึกธรรมชาติในการอ่านเพื่อความคล่องแคล่ว (Fluency) และเป็นการหลีกเลี่ยงการอ่านแบบสะกดทีละคำ
(5)  Reading for Accuracy   คือ การฝึกอ่านที่มุ่งเน้นความถูกต้องชัดเจนในการออกเสียง ทั้ง stress / intonation / cluster / final sounds ให้ตรงตามหลักเกณฑ์ของการออกเสียง (Pronunciation) โดยอาจนำเทคนิค Speed Reading   มาใช้ในการฝึก และเพิ่มความถูกต้องชัดเจนในการออกเสียงสิ่งที่ต้องการ จะเป็นผลให้ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านได้อย่างถูกต้อง (Accuracy) และ คล่องแคล่ว (Fluency) ควบคู่กันไป
1.2  การอ่านในใจ     ขั้นตอนการสอนทักษะการอ่าน มีลักษณะเช่นเดียวกับขั้นตอนการสอนทักษะการฟัง โดยแบ่งเป็น  3   กิจกรรม  คือ   กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน ( Pre-Reading)  กิจกรรมระหว่างการอ่าน หรือ ขณะที่สอนอ่าน (While-Reading) กิจกรรมหลังการอ่าน (Post-Reading)   แต่ละกิจกรรมอาจใช้เทคนิค ดังนี้
1)  กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน ( Pre-Reading)   การที่ผู้เรียนจะอ่านสารได้อย่างเข้าใจ ควรต้องมีข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับสารที่จะได้อ่าน โดยครูผู้สอนอาจใช้กิจกรรมนำให้ผู้เรียนได้มีข้อมูลบางส่วนเพื่อช่วยสร้างความเข้าใจในบริบท ก่อนเริ่มต้นอ่านสารที่กำหนดให้ โดยทั่วไป มี 2 ขั้นตอน คือ
- ขั้น Personalization เป็นขั้นสนทนา โต้ตอบ ระหว่างครู กับผู้เรียน หรือ ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน เพื่อทบทวนความรู้เดิมและเตรียมรับความรู้ใหม่จากการอ่าน
- ขั้น Predicting เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนคาดเดาเกี่ยวกับเรื่องที่จะอ่าน โดยอาจใช้รูปภาพ แผนภูมิ หัวเรื่อง ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะได้อ่าน แล้วนำสนทนา หรือ อภิปราย หรือ หาคำตอบเกี่ยวกับภาพนั้น ๆ หรือ อาจฝึกกิจกรรมที่เกี่ยวกับคำศัพท์ เช่น ขีดเส้นใต้ หรือวงกลมล้อมรอบคำศัพท์ในสารที่อ่าน หรือ  อ่านคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่จะได้อ่าน เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบแนวทางว่าจะได้อ่านสารเกี่ยวกับเรื่องใด  เป็นการเตรียมตัวล่วงหน้าเกี่ยวกับข้อมูลประกอบการอ่าน และค้นหาคำตอบที่จะได้จากการอ่านสารนั้นๆ  หรือ ทบทวนคำศัพท์จากความรู้เดิมที่มีอยู่ ซึ่งจะปรากฏในสารที่จะได้อ่าน โดยอาจใช้วิธีบอกความหมาย  หรือทำแบบฝึกหัดเติมคำ ฯลฯ
2)  กิจกรรมระหว่างการอ่าน  หรือ กิจกรรมขณะที่สอนอ่าน ( While-Reading)  เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติในขณะที่อ่านสารนั้น  กิจกรรมนี้มิใช่การทดสอบการอ่าน  แต่เป็นการ ฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ  กิจกรรมระหว่างการอ่านนี้  ควรหลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติทักษะอื่นๆ  เช่น  การฟัง  หรือ  การเขียน  อาจจัดกิจกรรมให้พูดโต้ตอบได้บ้างเล็กน้อย  เนื่องจากจะเป็นการเบี่ยงเบนทักษะที่ต้องการฝึกไปสู่ทักษะอื่นโดยมิได้เจตนา   กิจกรรมที่จัดให้ในขณะฝึกอ่าน  ควรเป็นประเภทต่อไปนี้
- Matching   คือ อ่านแล้วจับคู่คำศัพท์ กับ คำจำกัดความ หรือ จับคู่ประโยค เนื้อเรื่องกับภาพ แผนภูมิ
- Ordering   คือ อ่านแล้วเรียงภาพ แผนภูมิ ตามเนื้อเรื่องที่อ่าน หรือ เรียงประโยค (Sentences) ตามลำดับเรื่อง หรือเรียงเนื้อหาแต่ละตอน (Paragraph) ตามลำดับของเนื้อเรื่อง
- Completing คือ อ่านแล้วเติมคำ สำนวน ประโยค   ข้อความ ลงในภาพ แผนภูมิ ตาราง ฯลฯ ตามเรื่องที่อ่าน
- Correcting    คือ อ่านแล้วแก้ไขคำ สำนวน ประโยค ข้อความ ให้ถูกต้องตามเนื้อเรื่องที่ได้อ่าน
- Deciding   คือ อ่านแล้วเลือกคำตอบที่ถูกต้อง (Multiple Choice)   หรือ เลือกประโยคถูกผิด (True/False) หรือ เลือกว่ามีประโยคนั้นๆ ในเนื้อเรื่องหรือไม่ หรือ เลือกว่าประโยคนั้นเป็นข้อเท็จจริง (Fact) หรือ เป็นความคิดเห็น (Opinion)
- Supplying / Identifying   คือ  อ่านแล้วหาประโยคหัวข้อเรื่อง ( Topic  Sentence)  หรือ สรุปใจความสำคัญ( Conclusion)  หรือ จับใจความสำคัญ ( Main Idea) หรือตั้งชื่อเรื่อง (Title)  หรือ ย่อเรื่อง (Summary)  หรือ หาข้อมูลรายละเอียดจากเรื่อง ( Specific  Information)
3)  กิจกรรมหลังการอ่าน (Post-Reading)  เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ภาษาในลักษณะทักษะสัมพันธ์เพิ่มขึ้นจากการอ่าน  ทั้งการฟัง  การพูดและการเขียน ภายหลังที่ได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมระหว่างการอ่านแล้ว  โดยอาจฝึกการแข่งขันเกี่ยวกับคำศัพท์  สำนวน ไวยากรณ์ จากเรื่องที่ได้อ่าน  เป็นการตรวจสอบทบทวนความรู้  ความถูกต้องของคำศัพท์  สำนวน  โครงสร้างไวยากรณ์  หรือฝึกทักษะการฟังการพูดโดยให้ผู้เรียนร่วมกันตั้งคำถามเกี่ยวกับเนื้อเรื่องแล้วช่วยกันหาคำตอบ สำหรับผู้เรียนระดับสูง อาจให้พูดอภิปรายเกี่ยวกับอารมณ์หรือเจตคติของผู้เขียนเรื่องนั้น  หรือฝึกทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ได้อ่าน  เป็นต้น
3.    บทเรียนที่ได้ (ถ้ามี)   
การสอนทักษะการอ่านโดยใช้เทคนิคต่างๆ ในการจัดกิจกรรมให้แก่ผู้เรียนตามข้อเสนอแนะข้างต้น  จะช่วยพัฒนาคุณภาพทักษะการอ่านของผู้เรียนให้สูงขึ้นตามลำดับ  ทั้งนี้  ขึ้นอยู่กับความถี่ในการฝึกฝน  ซึ่งผู้เรียนควรจะได้รับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ทักษะการอ่านที่ดี  จะนำผู้เรียนไปสู่ทักษะการพูด และการเขียนที่ดีได้เช่นเดียวกัน
คำสำคัญ ( Keywords)   
                           1. ทักษะการอ่าน
                           2. การอ่านออกเสียง
                           3. การอ่านในใจ
                           4. กิจกรรมในการสอนอ่าน
                           5. กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน ( Pre-Reading)
                           6. กิจกรรมระหว่างการอ่าน  หรือ กิจกรรมขณะที่สอนอ่าน ( While-Reading)
                           7. กิจกรรมหลังการอ่าน  (Post-Reading)

เทคนิคการสอนทักษะการเขียน

เทคนิคการสอนทักษะเขียนภาษาอังกฤษ (Writing Skill)
การเขียน คือ การสื่อสารให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วยข้อความเป็นลายลักษณ์อักษร มีจุดมุ่งหมายเพื่อถ่ายทอดความคิดของผู้ส่งสารคือผู้เขียนไปสู่ผู้รับสารคือผู้อ่าน กระบวนการสอนทักษะการเขียน ยังจำเป็นต้องเริ่มต้นจากการสร้างระบบในการเขียน จากความถูกต้องแบบควบคุมได้ (Controlled Writing) ไปสู่การเขียนแบบควบคุมน้อยลง (Less Controlled Writing) อันจะนำไปสู่การเขียนแบบอิสระ ( Free Writing) ได้ในที่สุด ครูผู้สอนควรมีความรู้และความสามารถในการจัดการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะการเขียนให้แก่ผู้เรียนได้อย่างไร ผู้เรียนจึงจะมีทักษะการเขียนภาษาอังกฤษที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
1. ชื่อเรื่อง เทคนิคการสอนทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ ( Writing Skill)2. เกริ่นนำ การเขียน คือ การสื่อสารให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วยข้อความเป็นลายลักษณ์อักษร มีจุดมุ่งหมายเพื่อถ่ายทอดความคิดของผู้ส่งสารคือผู้เขียนไปสู่ผู้รับสารคือผู้อ่าน มากกว่าการมุ่งเน้นในเรื่องของการใช้คำและหลักไวยากรณ์ หรือ อาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การเขียนเป็นการสื่อสารที่มุ่งเน้นความคล่องแคล่ว( Fluency) ในการสื่อความหมาย มากกว่าความถูกต้องของการใช้ภาษา ( Accuracy) อย่างไรก็ตาม กระบวนการสอนทักษะการเขียน ยังจำเป็นต้องเริ่มต้นจากการสร้างระบบในการเขียน จากความถูกต้องแบบควบคุมได้ (Controlled Writing) ไปสู่การเขียนแบบควบคุมน้อยลง (Less Controlled Writing) อันจะนำไปสู่การเขียนแบบอิสระ ( Free Writing) ได้ในที่สุด การฝึกทักษะการเขียนสำหรับผู้เรียนระดับต้น สิ่งที่ผู้สอนต้องคำนึงถึงให้มากที่สุด คือ ต้องให้ผู้เรียนมีข้อมูลเกี่ยวกับ คำศัพท์ ( Vocabulary) กระสวนไวยากรณ์ ( Grammar Pattern) และเนื้อหา ( Content) อย่างเพียงพอที่จะเป็นแนวทางให้ผู้เรียนสามารถคิดและเขียนได้ ซึ่งการสอนทักษะการเขียนในระดับนี้ อาจมิใช่การสอนเขียนเพื่อสื่อสารเต็มรูปแบบ แต่จะเป็นการฝึกทักษะการเขียนอย่างเป็นระบบที่ถูกต้อง อันเป็นรากฐานสำคัญในการเขียนเพื่อการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับสูงได้ต่อไป ครูผู้สอนควรมีความรู้และความสามารถในการจัดการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะการเขียนให้แก่ผู้เรียนได้อย่างไร ผู้เรียนจึงจะมีทักษะการเขียนภาษาอังกฤษที่มีประสิทธิภาพสูงสุด1.
เทคนิควิธีปฎิบัติ การฝึกทักษะการเขียน มี
3 แนวทาง คือ 1.1 การเขียนแบบควบคุม (Controlled Writing) เป็นแบบฝึกการเขียนที่มุ่งเน้นในเรื่องความถูกต้องของรูปแบบ เช่น การเปลี่ยนรูปทางไวยากรณ์ คำศัพท์ในประโยค โดยครูจะเป็นผู้กำหนดส่วนที่เปลี่ยนแปลงให้ผู้เรียน ผู้เรียนจะถูกจำกัดในด้านความคิดอิสระ สร้างสรรค์ ข้อดีของการเขียนแบบควบคุมนี้ คือ การป้องกันมิให้ผู้เรียนเขียนผิดตั้งแต่เริ่มต้น กิจกรรมที่นำมาใช้ในการฝึกเขียน เช่น Copying , เป็นการฝึกเขียนโดยการคัดลอกคำ ประโยค หรือ ข้อความที่กำหนดให้ ในขณะที่เขียนคัดลอก ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้การสะกดคำ การประกอบคำเข้าเป็นรูปประโยค และอาจเป็นการฝึกอ่านในใจไปพร้อมกันGap Filing เป็นการฝึกเขียนโดยเลือกคำที่กำหนดให้ มาเขียนเติมลงในช่องว่างของประโยค ผู้เรียนจะได้ฝึกการใช้คำชนิดต่างๆ (Part of Speech) ทั้งด้านความหมาย และด้านไวยากรณ์Re-ordering Words, เป็นการฝึกเขียนโดยเรียบเรียงคำที่กำหนดให้ เป็นประโยค ผู้เรียนได้ฝึกการใช้คำในประโยคอย่างถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และเรียนรู้ความหมายของประโยคไปพร้อมกันChanging forms of Certain words เป็นการฝึกเขียนโดยเปลี่ยนแปลงคำที่กำหนดให้ในประโยค ให้เป็นรูปพจน์ หรือรูปกาล ต่างๆ หรือ รูปประโยคคำถาม ประโยคปฏิเสธ ฯลฯ ผู้เรียนได้ฝึกการเปลี่ยนรูปแบบของคำได้อย่างสอดคล้องกับชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค Substitution Tables เป็นการฝึกเขียนโดยเลือกคำที่กำหนดให้ในตาราง มาเขียนเป็นประโยคตามโครงสร้างที่กำหนด ผู้เรียนได้ฝึกการเลือกใช้คำที่หลากหลายในโครงสร้างประโยคเดียวกัน และได้ฝึกทำความเข้าใจในความหมายของคำ หรือประโยคด้วย1.2 การเขียนแบบกึ่งควบคุม (Less – Controlled Writing) เป็นแบบฝึกเขียนที่มีการควบคุมน้อยลง และผู้เรียนมีอิสระในการเขียนมากขึ้น การฝึกการเขียนในลักษณะนี้ ครูจะกำหนดเค้าโครงหรือรูปแบบ แล้วให้ผู้เรียนเขียนต่อเติมส่วนที่ขาดหายไปให้สมบูรณ์ วิธีการนี้ ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะความสามารถในการเขียนได้มากขึ้น อันจะนำไปสู่การเขียนอย่างอิสระได้ในโอกาสต่อไป กิจกรรมฝึกการเขียนแบบกึ่งอิสระ เช่นSentence Combining เป็นการฝึกเขียนโดยเชื่อมประโยค 2 ประโยคเข้าด้วยกัน ด้วยคำขยาย หรือ คำเชื่อมประโยค ผู้เรียนได้ฝึกการเขียนเรียบเรียงประโยคโดยใช้คำขยาย หรือคำเชื่อมประโยค ในตำแหน่งที่ถูกต้องDescribing People เป็นการฝึกการเขียนบรรยาย คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ โดยใช้คำคุณศัพท์แสดงคุณลักษณะของสิ่งที่กำหนดให้ ผู้เรียนได้ฝึกการใช้คำคุณศัพท์ขยายคำนามได้อย่างสอดคล้อง และตรงตามตำแหน่งที่ควรจะเป็น Questions and Answers Composition เป็นการฝึกการเขียนเรื่องราว ภายหลังจากการฝึกถามตอบปากเปล่าแล้ว โดยอาจให้จับคู่แล้วสลับกันถามตอบปากเปล่าเกี่ยวกับเรื่องราวที่กำหนดให้ แต่ละคนจดบันทึกคำตอบของตนเองไว้ หลังจากนั้น จึงให้เขียนเรียบเรียงเป็นเรื่องราว 1 ย่อหน้า ผู้เรียนได้ฝึกการเขียนเรื่องราวต่อเนื่องกัน โดยมีคำถามเป็นสื่อนำความคิด หรือเป็นสื่อในการค้นหาคำตอบ ผู้เรียนจะได้มีข้อมูลเป็นรายข้อที่สามารถนำมาเรียบเรียงต่อเนื่องกันไปได้อย่างน้อย 1 เรื่องParallel Writing เป็นการฝึกการเขียนเรื่องราวเทียบเคียงกับเรื่องที่อ่าน โดยเขียนจากข้อมูล หรือ ประเด็นสำคัญที่กำหนดให้ ซึ่งมีลักษณะเทียบเคียงกับความหมายและโครงสร้างประโยค ของเรื่องที่อ่าน เมื่อผู้เรียนได้อ่านเรื่องและศึกษารูปแบบการเขียนเรียบเรียงเรื่องนั้นแล้ว ผู้เรียนสามารถนำข้อมูลหรือประเด็นที่กำหนดให้มาเขียนเลียนแบบ หรือ เทียบเคียงกับเรื่องที่อ่านได้Dictation เป็นการฝึกเขียนตามคำบอก ซึ่งเป็นกิจกรรมที่วัดความรู้ ความสามารถของผู้เรียนในหลายๆด้าน เช่น การสะกดคำ ความเข้าใจด้านโครงสร้างประโยค ไวยากรณ์ รวมถึงความหมายของคำ ประโยค หรือ ข้อความที่เขียน1.3 การเขียนแบบอิสระ ( Free Writing) เป็นแบบฝึกเขียนที่ไม่มีการควบคุมแต่อย่างใด ผู้เรียนมีอิสระเสรีในการเขียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิด จินตนาการอย่างกว้างขวาง การเขียนในลักษณะนี้ ครูจะกำหนดเพียงหัวข้อเรื่อง หรือ สถานการณ์ แล้วให้ผู้เรียนเขียนเรื่องราวตามความคิดของตนเอง วิธีการนี้ ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะความสามารถในการเขียนได้เต็มที่ ข้อจำกัดของการเขียนลักษณะนี้ คือ ผู้เรียนมีข้อมูลที่เป็นคลังคำ โครงสร้างประโยค กระสวนไวยากรณ์เป็นองค์ความรู้อยู่ค่อนข้างน้อย ส่งผลให้การเขียนอย่างอิสระนี้ ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร 2. เอกสารอ้างอิง 2.1 กระทรวงศึกษาธิการ. ชุดฝึกอบรมครูสอนภาษาอังกฤษ ชุดที่ 3 Teaching 4 Skills สำหรับวิทยากร: กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2539. 2.2. อารีวรรณ เอี่ยมสะอาด. คู่มือการพัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้
ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : บุ้ค พอยท์, 2546.2.3 บทเรียนที่ได้ (ถ้ามี) การสอนทักษะการเขียน โดยใช้กิจกรรมที่นำเสนอข้างต้น จะช่วยพัฒนาคุณภาพทักษะการเขียนของผู้เรียนให้สูงขึ้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความถี่ในการฝึกฝน ซึ่งผู้เรียนควรจะได้รับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ทักษะการเขียนที่ดี จะนำไปสู่การสื่อสารที่สร้างความเข้าใจให้แก่ผู้อ่านสารได้อย่างมีประสิทธิภาพคำสำคัญ ( Keywords)
1. ทักษะการเขียน (Writing Skill) 2. การเขียนแบบควบคุม ( Controlled Writing) 3. การเขียนแบบกึ่งควบคุม ( Less Controlled Writng) 4. การเขียนแบบอิสระ ( Free Writing)

เทคนิคทักษะการสอนการพูด

การพูด
การพูดและการสอนการพูด
          ไบเล่ย์ (Bailey, 2005) ให้ความหมายของการพูดและการสอนพูดไว้ดังนี้
                การพูด (speaking) หมายถึงการเปล่งเสียงออกมาเพื่อให้เกิดความหมาย การพูดเป็นการบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ผู้พูด ผ้ฟัง และข้อมูล การพูดเป็น productive skills เพราะผู้พูดเป็นผู้ให้ข้อมูล หรือเป็นผู้ส่งสาร การพูดกับการเขียนถือว่าเป็น productive skills ส่วนการฟังและการอ่านเป็น receptive skills เป็นการรับสาร
                การสอนพูด (teaching speaking) ในยุคก่อนหมายถึงการให้ความช่วยเหลือผู้เรียนให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ เสียง คำศัพท์ โครงสร้างหรือการสอนความรู้ด้านภาษา (linguistic competence)  โดยการสะสมความรู้ทีละเล็กที่ละน้อยนำมารวมกันแล้วในที่สุดก็ใช้ภาษาในการสื่อสารได้ เริ่มตั้งแต่ปี คศ. 1970 เป็นต้นมาเริ่มเปลี่ยนความคิดจากการการสอนความรู้ทางภาษา
มาเป็นการสอนให้ผู้เรียนมีความสามารถในการสื่อสาร ทั้งนี้เพราะในประเทศเจ้าของภาษา เช่น ออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ อังกฤษ และอเมริกา เริ่มมีผู้อพยพเข้าไปอาศัยอยู่ในประเทศเหล่านั้น การสอนภาษาอังกฤษเพียงเพื่อให้มีความรู้ทางภาษาไม่สามารถช่วยให้ผู้อพยพสื่อสารได้ นักการศึกษาด้านภาษาที่สองจึงคิดวิธีการสอนขึ้นมาใหม่เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความสามารถในการสื่อสาร (communicative competence) ซึ่งผู้เรียนต้องสามารถใช้ภาษาเพื่อปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นตามสถาณการณ์และบริบทต่างๆ และ ยังต้องเข้าใจวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาด้วย ผู้เรียนจึงต้อง
มีความสามารถเพิ่มขึ้นอีก 3 ด้านดังต่อไปนี้จึงจะสามารถสื่อสารได้
               1. ความสามารถในการใช้ภาษาตามความเหมาะสมทางสังคม (sociolinguistic competence) หมายถึงความสามารถในการใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ตามสถานการณ์ บริบท  ระดับ (register) เช่นการใช้ภาษาที่เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ
               2. ความสามารถในการใช้กลวิธีสื่อสาร (strategic competence) หมายถึงความสามารถในการที่จะใช้กลวิธีต่างใขณะสื่อสารเพื่อให้การสื่อสารนั้นสื่อความหมายได้ถูกต้องตามความมุ่งหมายของผู้พูด  กลวิธีสื่อสารที่ผู้เรียนภาษาต่างประเทศและภาษาที่สองใช้ขณะพูดสื่อสารมีดังนี้
                    2.1 การถอดความ หรือการใช้สำนวนใหม่ (paraphrase) ประกอบไปด้วยเทคนิค
ย่อยๆดังนี้
                            2.1.1 การใช้คำใกล้เคียง (approximation) ในขณะที่สนทนาผู้พูดจำคำศัพท์ไม่ได้หรือไม่รู้คำศัพท์ จึงแก้ปัญหาโดยพูดคำที่ใกล้เคียงกัน เช่น พูดว่า pipe เพราะจำคำว่า water pipe ไม่ได้
                            2.1.2 การคิดคำขึ้นมาใหม่ (word coinage) ในขณะที่สนทนาผู้พูดจำคำศัพท์ไม่ได้หรือไม่รู้คำศัพท์จึงสร้างคำศัพท์ขึ้นมาใหม่ เช่น airball แทนคำว่า balloon
                         2.1.3 การใช้คำอธิบายอ้อมค้อม (circumlocution) ในขณะที่สนทนาผู้พูดจำคำศัพท์ไม่ได้หรือไม่รู้คำศัพท์จึงใช้การขยายความ เช่น She is, uh, smoking something. I don’t know what’s its name. That’s uh, Persian, and we use in Turkey, a lo of.

ตัวอย่าง
                “ It is, uh, the thing that make the hair hot. You know, when you clean the hair and then after – that thing that make the hair hot when the hair has water. It’s, uh, it use electric to make the hair hot. Is not in the room and I want to use it.”
               2.2 การยืม (borrowing) ประกอบไปด้วยเทคนิคย่อยๆดังนี้
                              2.2.1 การแปลตามตัวอักษร (literal translation) ขณะที่สนทนาไม่รู้คำศัพท์สำนวนจึงใช้คำศัพท์ที่แปลตรงๆ เช่น พูดว่า He invites him to drink. แทนการพูดว่า They toast one another.
                          2.2.2  การเปลี่ยนภาษา (language switch) ขณะที่สนทนาไม่รู้คำศัพท์จึงใช้ภาษาของตนเองปะปนกับภาษาเป้าหมาย
ตัวอย่าง
                “ We say in Spanish secadora – the dryer, but is for the hair. The dryer of the hair. Do you have the dryer of the hair? I need one please.”
                             2.2.3 การขอความช่วยเหลือ (appeal for assistance) ขณะที่สนทนาไม่รู้คำศัพท์จึงถามคู่สนทนา เช่น What is this? What called?
ตัวอย่าง
            “ So, uh, now my hair is wet. And I must go to the party. So now, I need that machine, that little machine. What is the name? How do you call it in English?”
                             2.2.4  การแสดงท่าทาง (mime) ขณะที่สนทนาไม่รู้คำศัพท์จึงแสดงท่าทางแทนคำพูด เช่น ปรบมือ หมายถึงการแสดงความชื่นชมยินดี
ตัวอย่าง
            (Imagine that the guest is at the hotel’s front desk talking directly to the clerk.)
“ Yes, uhm, please, I need, you know the thing, I do this” [gestures brushing her hair and blow-drying it] “ after I am washing my hair. Do you have this thing?
                             2.2.5 การหลีกเลี่ยง (avoidance) ประกอบไปด้วยเทคนิคย่อยๆ ดังนี้
                                        2.2.5.1 การเลี่ยงประเด็น (Topic avoidance) ไม่พูดเรื่องที่ไม่มีรู้คำศัพย์หรือไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ
                                       2.2.6 เลี่ยงข้อความ (message abandonment) ขณะที่พูดจำบางข้อความไม่ได้หยุดชะงักกลางคัน พยายามเปลี่ยนข้อความใหม่ที่สื่อความได้คล้ายๆกัน
                3. ความสามารถในด้านเนื้อความ (discourse competence) หมายถึงความสามารถในการเชื่อมโยงส่วนต่างๆของคำศัพท์ ประโยคให้สัมพันธ์กันและสื่อความหมายได้  ความสัมพันธ์ของเนื้อความมี 2 ลักษณะดังนี้
                     3.1 ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบของประโยค (cohesion) หมายถึงความสามารถของผู้พูดในการใช้คำศัพท์และโครงสร้างได้ถูกต้องเหมาะสมตามบริบทสื่อความหมายกับผู้ฟังได้  ตัวอย่างต่อไปนี้แสดงความสัมพันธ์สอดคล้องแบบ cohesion

            Jeff: Hey, Lindsey, how’s it going?
            Lindsey: Wow! I just had a test and it was really hard!
            Jeff: Oh! What was the test about?
            Lindsey: Statistics! All those formulas are so confusing!
            Jeff: Yeah, I don’t like that either.                
                 Lindsey ใช้ pronoun “it” หมายถึง test ที่ได้กล่าวถึงแล้ว Jeff ใช้คำว่า test เพื่อเชื่อมข้อความให้ปะติดปะต่อกับ Lindsey และ Lindsey ใช้คำว่า statistics และ formulas ซึ่งเป็นคำ synonym  Jeff  
               วิธีสอนภาษาในอดีตที่เน้นความถูกต้องของความรู้ทางภาษาเช่น การสอนแบบไวยากรณ์และแปล การสอนแบบ ฟัง-พูด ถือว่ากลวิธีทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นปัญหาของการพูดเพราะเชื่อว่าการพูดต้องมั่นในว่าถูกต้องจึงพูดไม่ควรพูดผิดๆ  ส่วนการเรียนการสอนภาษาในปัจจุบันถือว่ากลวิธีการสื่อสารเป็นการช่วยให้ผู้พูดกับผู้ฟังสื่อความหมายกันได้ถือว่าเป็นเหตุการณ์ปกติของคนที่กำลังใช้ภาษาที่สอง และครูต้องฝึกให้นักเรียนใช้กลกลวิธีเหล่านี้โดยการสอดแทรกเข้าไปในการจัดกิจกรรมการพูดทุกครั้งจะทำให้นักเรียนพูดได้คล่องแคล่วมากขึ้น
              3.2 ความสัมพันธ์ของเนื้อความแบบ coherence หมายถึงความสัมพัน์ที่เชื่อมความหมายกับคำพูด ซึ่งเกี่ยวข้องกับความรู้เดิมและภูมิหลังของผู้พูด ดังตัวอย่างการสนทนาต่อไปนี้คู่สนทนาสื่อความหมายกันได้พราะอยู่ในบริบทเดียวกันทั้งสองคนสื่อความหมายได้ตรงกันคือตารางเวลาตรงกัน
                Person: Going to the review session?
            Person 2: Rugby practice.
           
         ความสัมพันธ์ของเนื้อความทั้งสองแบบมีความสำคัญต่อผู้เรียนภาษาที่สองโดยเฉพาะความสัมพันธ์แบบ cohesion เป็นความสัมพันธ์ระดับพื้นฐานที่ต้องใช้ขณะสนทนา
          องค์ประกอบสำคัญในการพูดอีกประการหนึ่งก็คือ ความถูกต้อง (accuracy) หมายถึงความสามารถในการใช้ศัพท์ โครงสร้าง เพื่อสื่อความหมายได้อย่างถูกต้อง และ ความคล่องแคล่ว (fluency) หมายถึงความสามารถในการพูดได้รื่นไหล และมีความมั่นใจในการพูด สิ่งที่ครูต้องคำนึงถึงคือผู้เรียนที่เรียนภาษาที่ 2 นั้น การพูดถูกต้องกับการพูดคล่องจะไม่เกิดขึ้นพร้อมกันเมื่อผู้เรียนพยายามที่จะพูดให้ถูกต้องการพูดจะตะกุกตะกักไม่คล่อง ขณะเดียวกันถ้าพูดเร็วก็จะทำให้พูดไม่ถูกต้อง
                การเรียนการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่าประเทศในปัจจุบันส่งเสริมทั้งการพูดถูกต้องและคล่องแคล่วแต่ถ้าครูฝึกให้นักเรียนพูดคล่องก่อนค่อยแก้ไขข้อผิดพลาดของตัวเองขณะพูดไปเรื่อยๆก็จะทำให้พูดถูกต้องมากขึ้น   การพูดคล่องมีความหมายที่กว้างกว่าการพูดรื่นไหล  บราวด์
(Brown, 200: Website) ได้รวบรวมคำจำกัดความของการพูดคล่องดังนี้
                -    การพูดคล่องหมายถึงการพูดได้โดยไม่ติดขัด ถูกต้องตามโครงสร้างของภาษาโดยอัตโนมัติและเป็นธรรมชาติ อย่างไรก็ตามการพูดคล่องเน้นการสื่อความหมายมากกว่าโครงสร้างภาษา
                 -   การพูดคล่องหมายถึงความสามารถของผู้พูดในลักษณะต่อไปนี้ คือ พูดได้รื่นไหลเป็นเวลานานไม่ตะกุกตะกักบ่อยๆ ขยายความในบริบทได้อย่างเหมาะสม ใช้ภาษาได้อย่างสละสลวยและที่สำคัญที่สุดคือต้องสื่อความได้
                     -   การพูดคล่องหมายถึงการพูดที่เป็นธรรมชาติ มีการหยุดเป็นจังหวะ เน้นเสียงหนักเบาได้เหมือนเจ้าของภาษามากที่สุด ระดับของการพูดคล่องเป็นตัวบ่งชี้ถึงความสามารถในการใช้ภาษาที่สองหรือภาษาต่างประเทศของผู้พูด
                    -  การพูดคล่องหมายถึงการพูดสื่อความคิดของตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งไม่จำเป็นต้องพูดได้ถูกต้องตามโครงสร้าง ศัพย์ และการเน้นหนัก ในคำหรือพยางค์
                    -   การพูดคล่องหมายถึงการพูดสื่อสารได้ไม่หยุดชะงักลงกลางคัน
ส่วนประกอบของภาษาพูด
          ส่วนประกอบของภาษาพูด (components of spoken language) มีส่วนประกอบหลายอย่างเรียกว่าระดับของภาษา (level of language) ขณะที่พูดแต่ละระดับหรือแต่ละส่วนประกอบจะทำงานไปพร้อมๆกันโดยอัตโนมัติ ลิเออร์ (Lier, 1995) ได้แบ่งส่วนประกอบของการพูดอยู่ในรูปปิรามิดดังนี้
         








1.             เนื้อหา (text) คนส่วนมากมักเข้าใจว่าการพูดไม่มีเนื้อหา การอ่านและการเขียนเท่านั้น
จึงจะมีเนื้อหา ซึ่งที่จริงแล้วการพูดก็มีเนื้อหาแต่ว่าไม่เป็นประโยคที่สมบูรณ์เหมือนเนื้อหาการอ่านและการเขียน ตัวอย่าง text  พูดเช่น
              Person 1: Hungry?
              Person 2: Yep.
              Person 1: Pizza.
              Person 2: Nope.
              Person 1: Mexican?
              Person 2: Mmmmmhm, nah.
              Person 1: Chinese?
              Person 2: Maybe.
              Person 1: Sushi!
              Person2: Yeah!
                ครูสามารถใช้ text พูดนี้ในการจัดกิจกรรมเพื่อฝึกพูด แล้วสังเกตว่านักเรียนใช้เวลานานเท่าไรในการฝึกพูดประโยคที่ไม่สมบูรณ์ เรียกว่า one-word utterance clause ซึ่งประกอบไปด้วย คำอย่างน้อย 2 คำ (หรือมากกว่า โดยปกติมากกว่าสองคำ) มีประธานและกริยาที่แสดงกาล
(tense) และต้องเป็นคำกริยาที่ไม่ต้องการกรรม (intransitive verb) ดังนั้น text จึงประกอบไปด้วยคำพูด (utterance) หลายๆคำพูด ดังตัวอย่างข้างบน
2.             อนุประโยค (clause) มี 2 ลักษณะได้แก่
                    2.1  อนุประโยคที่ขึ้นอยู่กับประโยคอื่น (dependent clause) เป็นประโยคที่ไม่สมบูรณ์ต้องอาศัยประโยคอื่นมาขยาย เช่น While Anna was  cooking dinner. จะสมบูรณ์
ก็ต่อเมื่อมีประโยคมาขยาย เช่น  While Anna was cooking dinner, the telephone rang.
     2.2 อนุประโยคอิสระ (independent clause)   เป็นประโยคที่สมบูรณ์ เช่น
Anna was cooking dinner.
3.             วลี (phrase) หมายถึงกลุ่มคำที่ประกอบไปด้วยคำ 2 คำหรือมากกว่านั้นแต่ไม่ใช่
อนุประโยคเพราะไม่มีคำกริยาบอกกาล วลีมีหลายชนิดเช่น
-         Prepositional phrase คือ วลีที่ขึ้นต้นด้วยคำบุรพบท เช่น in the
hospital, after school
                      -   Noun phrase คือ วลีที่ขึ้นต้นด้วยคำนาม เช่น a black cat, the five storey building
                  วลีและอนุประโยคจะถูกใช้ประจำในภาษาพูดแต่ไม่นิยมใช้ในภาษาเขียน
4.             คำ (word) เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดที่มีความหมายในตัวเอง คำเป็นหน่วยอิสระ

(free morpheme) เช่น baby, application ส่วน bound morpheme เป็นคำที่ไม่อิสระและไม่มีความหมายในตัวเองต้องใช้กับ free morpheme เช่น prefix inter- , pre-   suffix
เช่น ing, s, ed
5.             Phoneme เป็นหน่วยเสียงที่เล็กที่สุดเวลาเขียนเพื่อให้แตกต่างจากตัวอักษรใช้
เครื่องหมาย/ เช่น /p/, /b/ หน่วยเสียงแม้เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดแต่ก็ถือว่าสำคัญเพราะการออกเสียงแต่ละภาษาแตกต่างกัน เสียงบางเสียงในภาษาอังกฤษเป็นปัญหาสำหรับผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประทศ เช่น เสียง th ผู้เรียนออกเสียงเป็น /s/ /z/ /d/ หรือ /t/ การออกเสียงไม่ถูกทำให้เกิดสำเนียงที่เรียกว่า foreign accent
                6. พยางค์ (syllable) หมายถึงคำและเสียง 1 พยางย์ อาจมีมากกว่า 1 หน่วยคำและ 1
หน่วยเสียง เช่น stop ถือว่าเป็น 1 พยางย์   พยางค์มี 2 ลักษณะคือ คือพยางค์เปิด (open syllable) คือพยางค์ที่ลงท้ายด้วยสระ และพยางค์ปิด (close syllable) คือพยางค์ที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะ
7.             ลักษณะการออกเสียงที่แตกต่าง (distinctive feature) ตำแหน่งของเสียงที่เปล่ง
ออกมามีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับที่มาของเสียง ครูต้องมีความรู้เกี่ยวกับตำแหน่งของเสียงว่าเสียงแต่ละเสียงมาจากอวัยวะส่วนใดในปาก  บางเสียงเป็นเสียงก้อง (voice) เช่น เสียง /b/  ส่วน /p/ เป็นเสียงไม่ก้อง (voiceless) คนที่พูดภาษาบางภาษาเช่น อารบิกแยกสองเสียงนี้ไม่ได้ จึงออกเสียงเหมือนกันทำให้มีปัญหาในการพูดภาษาอังกฤษ
8.             เสียงหนักเบาในคำและประโยค (stress, intonation)  intonation หมายถึงการ
ออกเสียงสูงต่ำในประโยคเพื่อให้ผู้ฟังสื่อความหมายได้หลายอย่าง เช่น บอกให้รู้ว่าเป็นประโยคบอกเล่าหรือคำถาม นอกจากนั้นยังบอกถึงความคิดเห็นและทํศนคติของผู้พูด เช่น เสียดสี ประหลาดใจ หรือไม่เชื่อ
                     พยัญชนะรวมกับสระเรียกว่า segmental phoneme ส่วน stress กับ intonation รวมกันเรียกว่า supra-segmental  phoneme ทั้งสองส่วนมีความสำคัญต่อการพูดมากเพราะว่ามีผลต่อการสื่อความหมาย ถ้าผู้พูดออกเสียงไม่ถูกต้องจะทำให้ผู้ฟังเข้าใจผิด หรือสื่อความได้ไม่ตรง มีหลักฐานการวิจัยพบว่าคนที่พูดภาษาที่สองได้งานที่ค่าตอบแทนน้อยกว่าคนที่พูดภาษาที่ 1 แม้ว่าความสามารถเท่ากันทั้งนี้เนื่องจากคนที่ใช้ภาษาที่สองมีข้อจำกัดในเรื่องการสื่อสาร ครูสอนภาษาอังกฤษจงจำไว้ว่าภาษาพูดกับภาษาเขียนต่างกัน การพูดรับสารโดยการฟัง (รับสารทางหู) การเขียนรับส่งสารโดยการดู (รับสารทางตา) การพูดผู้ฟังต้องรับส่งสารทันทีโดยผ่าน supra-segmental phonemes ได้แก่ rhythm, stress และ intonation ส่วนการเขียนรับส่งสารผ่านเครืองหมายวรรคตอนต่างๆ และไม่ต้องตอบรับทันทีเหมือนการพูด 
                สิ่งหนึ่งที่ครูภาษาอังกฤษต้องทำความเข้าใจคือการรวบเสียง (reduced speech) ในภาษาอังกฤษโดยเฉพาะการพูดที่ไม่เป็นทางการ เช่นคำว่า “going to” เป็น “gonna” การรวบคำไม่ได้เกิดจากการขี้เกียจพูดหรือการพูดเร็วแล้วทำให้เสียงบางเสียงหายไปแต่เป็นธรรมชาติของการพูดภาษาอังกฤษและมีกฎเกณฑ์ว่าชัดเจนคำไหนรวบหรือไม่รวบ ดังเช่นตัวอย่างต่อไปนี้
          Set 1
a.       I’m going to the store.
b.      I’m gonna the store.
Set 2
a.       I’m going to go swimming.
b.      I’m gonna go swimming.
Set 3
a.       Going to the game tonight?
b.      Gonna the game tonight?
Set 4
a.       I’m going to go dancing tonight?
b.      I’m gonna go dancing tonight?

สังเกตว่าจะไม่รวบเสียง /t/ ในบริบทของ the
จะเห็นได้ว่าการพูดภาษาอังกฤษนั้นถือว่ายากกว่าการอ่านและการเขียนเพราะการพูด
เกิดขึ้นในเวลาจริง (real time) พูดอีกนัยหนึ่งก็คือคู่สนทนา (interlocutor) กำลังพูดพร้อมกับรอที่จะโต้ตอบทันที ในขณะพูดผู้พูดต้องเผชิญกับหลายอย่างในขณะเดียวกัน เช่น การทำความเข้าใจกับคำพูดของคู่สนทนา คิดคำศัพท์เกลาคำพูดของตัวเองในใจก่อนที่พูดออกไป เหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นโดยไม่มีการเตรียมตัวหรือแก้ไขก่อนพูด ไม่เหมือนกับการเขียนสามารถแก้ไขได้
 การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการพูด
                การจัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกพูดสำหรับนักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศนั้น ครูควรระลึกเสมอว่านักเรียนแทบจะไม่ค่อยมีโอกาสได้พูดภาษาอังกฤษ
นอกห้องเรียนเลย ครูจึงต้องพยายามเป็นอย่างมากที่ออกแบบกิจกรรมให้นักเรียนได้มีโอกาสฝึก
มากที่สุดในห้องเรียน การจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการฝึกพูดถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ  ครูจึงตวรจัดสิ่งแวดล้อมให้นักเรียนกล้าพูด ไม่กลัวว่าจะพูดผิด ครูและเพื่อนพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือ ซึ่งหลักการในการจัดกิจกรรมมีดังนี้
                1. จัดหาสื่อในการฝึกพูด  ครูต้องจัดหาสื่อที่จะช่วยให้นักเรียนได้ฝึกพูดให้มากที่สุด สื่อในที่นี้ไม่จำเป็นต้องลงทุนมากมาย ครูอาจใช้สิ่งของที่มีอยู่แล้ว เช่น แท่งไม้หลายๆสี เลโก้ บอร์ดเกม
ไพ่  เหรียญ กระดาษสีที่มีลักษณะต่างๆ เช่น สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม และวงกลม  สิ่งหนึ่งที่ครูสามารถจัดหาได้ม่ยากคือ รูปภาพ โดยครูสามารถเก็บรวบรวมรูปภาพต่างๆที่มีสีสันสวยงามจากปฏิทิน ภาพถ่าย หรือภาพจากอินเทอร์เน็ตแล้วนำมาออกแบบกิจกรรมการพูดที่ตรงตามความสนใจของนักเรียน
                2. การใช้กิจกรรมคู่และกลุ่ม   
             นักเรียนเริ่มเรียนภาษาที่ 2 จะมีความวิตกกังวลในการพูดโดยเฉพาะการยืนพูดหน้าชั้นคนเดียว การให้นักเรียนได้มีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกันไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมคู่หรือกิจกรรมกลุ่มจึงเป็นการลดความวิตกกังวลของนักเรียน นอกจากนั้นยังทำให้นักเรียนเกิดความสนุกสนาน กระตือรือร้นและเกิดแรงจูงใจที่อยากจะมีส่วนร่วมในกิจกรรม การทำกิจกรรมร่วมกันทำให้นักเรียนรู้สึกเป็นอิสระ ไม่ต้องมีครูยืนอยู่หน้าชั้นเรียนคอยควบคุมพฤติกรรมอยู่ตลอดเวลา นอกจากนั้นการทำกิจกรรมคู่และกลุ่มยังท้าทายความสามารถของนักเรียน ทำให้นักเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์และเกิดทักษะในการคิดแก้ปัญหาขณะทำกิจกรรม กิจกรรมคู่และกลุ่มจึงถูกใช้อย่างแพร่หลายในการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร จากการวิจัยพบว่าการฝึกพุดเป็นคู่ทำให้นักเรียน
มีเวลาในการฝึกพูดมากขึ้นกว่าการที่ครูยืนอยู่หน้าชั้นแล้วให้นักเรียนฝึกพร้อมกันโดยที่ครูคอยควบคุมการฝึก  ในขณะที่ฝึกพูดนักเรียนแต่ละคู่สามารถใช้ภาษาตามความสามารถของตนเองได้อย่างอิสระ ครูที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมที่นักเรียนเป็นศูนย์กลางอาจมีความกังวลเกี่ยวกับเสียงดังและการควบคุมชั้นเรียนเพราะนักเรียนอาจไม่สนในทำกิจกกรรมที่ครูให้ปฏิบัติ  เคล็ดลับที่ทำให้นักเรียนสนใจกิจกรรมมีดังนี้
                                2.1 ออกแบบภารงานให้ชัดเจน  ครูอาจพิมพ์ขั้นในการปฏิบัติภารงานแจกนักเรียน หรือ ขียนลงบนกระดานหรือแผ่นใส
                                2.2 เริ่มที่กิจกรรมคู่ก่อนเมื่อนักเรียนคุ้นเคยกับกิจกรรมโดยสังเกตจากการปฏิบัติ
กิจกรรมได้รวดเร็วและเงียบจึงเปลี่ยนเป็นกิจกกรรมกลุ่ม  โดยเริ่มที่
กลุ่มละ 3 คนก่อนแล้วจึงขยายเป็นกลุ่มละ 4-5 คน
                                2.3 ก่อนที่ลงมือปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม ครูควรชี้แจงวิธีการเข้ากลุ่มซึ่งเทคนิคการจัดกลุ่มมีหลายเทคนิค ครูสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมแต่ต้องชี้แจงหรืออธิบายก่อนว่าจะใช้การจัดกลุ่มแบบใด เช่น ให้นักเรียนนับ 1, 2, 3 แล้วเข้ากลุ่มกับเพื่อนที่นับเหมือนกัน
                                2.4  กำหนดเวลาในการทำกิจกรรมให้ชัดเจน  ก่อนลงมือปฏิบัติกิจกรรมครูต้องบอกให้นักเรียนรูว่ากิจกรรมนั้นๆใช้เวลากี่นาที
                                2.5 ให้คำแนะนำช่วยเหลือ และอธิบายวิธีการปฏิบัติกิจกรรมให้ชัดเจน
ก่อนปฏิบัติกิจกรรมครูต้องชี้แจงจุดประสงค์ และขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติกิจกรรม เช่น
                                       In five minutes, each group sends one person to the chalkboard to write down your list of favorite foods. All the group members help that person spell the words correctly.

                              ในขณะที่นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมครูต้องเดินให้ความช่วยเหลือตลอดเวลา
เมื่อครูใช้กิจกรรมคู่และกลุ่มเป็นประจำจะทำให้นักเรียนสามารถใช้กลวิธีการพูดได้ด้วยตนเองส่งผลให้ทักษะการพูดของนักเรียนได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยๆ
             3. การจัดห้องเรียนเพื่ออำนวยความสะดวกในการฝึกพูด การจัดห้องเรียนแบบเก่า
ที่นักเรียนหันหน้าเข้าหากระดานถือว่าเป็นอุปสรรคต่อการฝึกพูด ครูจึงต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดห้องเรียนเพื่อให้เกิดความสะดวกในการฝึกพูด ซึ่งการจัดห้องเรียนมีหลายรูปแบบดังนี้
                     3.1 วงกลมในและนอก (inside-outside circle) เป็นการจัดชั้นเรียนเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกสนทนาและสัมภาษณ์เพื่อนๆ จุดประสงค์หลักในการจัดชั้นเรียนแบบนี้คือให้นักเรียนได้ฝึกพูดประโยคเดิมซ้ำๆ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนพูดได้คล่องและมีความมั่นใจในการพูดมากขึ้น โดยครูให้นักเรียนยืนเป็นวงกลม 2 วง วงนอกและวงใน นักเรียนที่ยืนวงกลมนอกและวงกลมในหันหน้าเข้าหากัน แต่ละคู่สัมภาษณ์ซึ่งกันและกันพื่อให้ได้ข้อมูลตามภารงานที่ครูมอบหมายให้ทำ ให้นักเรียนเคลื่อนวงกลมโดยเดินไปข้างหน้าเพื่อเปลี่ยนคู่สนทนา การทำเช่นนี้ทำให้นักเรียนได้ฝึกพูดซ้ำๆ            3.2  การจัดที่นั่งแบบแทงโก้ (tango seating) เป็นการจัดที่นั่งเพื่อให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมช่องว่างระหว่างข้อมูล (information gap) ซึ่งเป็นกิจกรรมทีสามารถพัฒนาทักษะการพูดได้เป็นอย่างดี กิจดกรรมช่องว่างระหว่างข้อมูลมีหลายรูปแบบ การจัดที่นั่งแบบแทงโก้เหมาะสำหรับเกี่ยวกับช่องว่างที่เกี่ยวกับการวาดภาพ การเดินตามแผนที่และการเขียนรูปร่างหรือโครงสร้างต่างๆตามคำบอก ลักษณะการนั่งเหมือนคู่เต้นรำจังหวะแทงโก้ แขนซ้ายของผู้หญิง
อยู่บนไหล่ขวาของผู้ชาย   มือขวาของผู้ชายแตะไหล่ผู้หญิงทั้งคู่หันหน้าไปในทิศทางตรงกันข้ามกัน
สามารถดัดแปลงมาใช้กับการนั่งในห้องเรียนโดย ให้นักเรียนจัดโต๊ะนั่งเป็นคู่หันหน้าไปในทิศทางที่ตรงกันข้าม ไหล่ขวาชิดกันแต่จะมองไม่เห็นขณะที่เพื่อนเขียน
                      3.3 ค็อดเทลปาร์ตี้ (cocktail party technique) เป็นเทคนิคที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้สนทนากับเพื่อนในชั้นหลายๆคน เหมือนการสนทนาในงานปาร์ตี้ซึ่งสามารถที่เดินไปทักทายสนทนากับใครก็ได้ ก่อนที่จะใช้เทคนิคนี้ครูต้องออกแบบภารงานให้ชัดเจน ควรเขียนขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมลงบนกระดานหรือแผ่นใส หรือพิมพ์เป็นใบงานแจกนักเรียนทุกคน เทคนิคนี้ช่วยให้นักเรียนได้สนทนากับเพื่อนๆ เมื่อนักเรียนคนใดทำกิจกรรมเสร็จสิ้นตามที่กำหนดในใบงานแล้วให้นั่งลง ซึ่งจะทำให้เกิดความสะดวกกับครูในการตรวจสอบว่าใครทำเสร็จแล้วและใครบ้างที่ยังทำไม่เสร็จจะได้ให้ความช่วยเหลือ
                4. กิจกรรม ภารงาน และสื่อ
                    ครูสามารถออกแบบภารงาน (task) หรือแบบฝึกหัด (exercise) ประกอบสื่อที่สามารถพัฒนาเองได้ ลักษณะของภารงานเพื่อพํฒนาทักษะการพูดมีดังนี้
                       4.1 การสนทนาและสัมภาษณ์ (conversation and interview) การสนทนาเป็นลักษณะพื้นฐานในการพูดแต่การสนทนาโดยใช้ภาษาที่ 2 ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับผู้เริ่มเรียนภาษาที่2
ยกตัวอย่างเช่นการสนทนาโดยใช้ภาษาอังกฤษก่อนที่นักเรียนจะสนทนาได้ต้องรู้คำศัพท์ โครงสร้าง การออกเสียง และยังต้องทำความเข้าใจสิ่งที่คู่สนทนาพูดทั้งหมดที่กล่าวมาต้องทำไปพร้อมๆกันในทันทีไม่มีเวลาเตรียมตัว จึงเป็นการยากสำหรับผู้ที่เรียนภาษาใหม่ การสนทนามี  2 แบบดังนี้
                         4.1.1 การสนทนาที่มีการควบคุม (guided conversation หรือ controlled conversation)  เป็นเทคนิคเก่าที่ใช้ในการสอนแบบ ฟัง-พูด แต่ก็มีประโยชน์สำหรับนักเรียนที่เรียนภาษาในขั้นเริ่มต้น โดยครูกำหนดประโยคบางส่วนกับนักเรียนแล้วส่วนที่เหลือให้นักเรียน
คิดเอง ยกตัวอย่างเช่น ครูกำหนดคำพูดของอีกคนหนึ่งที่เป็นคำถาม (one sided script) แล้วให้นักเรียนตอบคำถามด้วยตนเอง ดังตัวอย่าง
                                I: Robert, why such a sad face?
                        You:_______________________
                        I: Where did you lose it?
                        You: _________________________
                        I: What is it worth?
                        You: _________________________
                        I: Why didn’t you buy another one?
                        You:_________________________
                        I: To whom are you going to tell what happened, your mother
            or your father?
                        You: _________________________
                        I: Why?
                        You: ________________________
                        I: Will your parents give you the money you need?
                        You:_________________________
                        I: Well, what are you going to do?
                        You:____________________________
                         4.1.2 การสนทนาอิสระ (unscripted conversation) เป็นการสนทนาตามธรรมชาติไม่มีบทมาให้ ผู้สนทนาสามารถใช้ศัพท์และโครงสร้างได้อย่างอิสระ  และอาจเปลี่ยนเรื่องที่สนทนาไปเรื่อยๆ บรรยากาศเป็นธรรมชาติอาจมีคนใดคนหนึ่งพูดมากและอีกคนหนึ่งพูดน้อย การสนทนาแบบอิสระนั้นผู้สนทนาจำเป็นต้องใช้กลวิธีการพูด เพื่อที่จะไม่ให้การสนทนาหยุดชะงัก ตัวอย่างกลวิธีการพูดมีดังนี้
                                   4.1.2.1 กลวิธีขอให้คู่สนทนาพูดซ้ำ (asking for repetition) เช่น
·         Could you repeat that, please?
·         Would you mind repeating that, please?
·         I’m sorry, I didn’t catch that.
·         Sorry, please say it again.
·         Pardon me.
4.1.2.2              กลวิธีขอคำอธิบายเพิ่มเติม (asking for explanation) เช่น
·       I don’t understand what you mean by (rehear). Could you explain that?
·       I’m still not sure what you mean. Would you mind explaining that again?
·       I’m afraid I don’t understand. Do you think you could explain that?
               ครูควรออกแบบภารงานให้นักเรียนได้ฝึกทั้ง 2 รูปแบบคือทั้งแบบควบคุมและแบบอิสระ เช่นกิจกรรมการสัมภาษณ์เพื่อขอข้อมูลจากผู้อื่น โดยปกติแล้วการสัมภาษณ์นั้นผู้สัมภาษณ์จะมี 1 คน ที่เหลือเป็นผู้ถูกสัมภาษณ์ แต่สำหรับนักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษในขั้นเริ่มต้น ครูอาจให้นักเรียนจับคู่สัมภาษณ์วึ่งกันและกัน โดยการเปลี่ยนกันถามตอบเพื่อสร้างความั่นใจในการพูด และเป็นการช่วยเหลลือซึ่งกันและกัน โดยทั้งคู่ช่วยกันระดมสมองในการคิดข้อคำถาม ก่อนการสัมภาษณ์  นอกจากนั้นในการใช้กิจกรรมการสัมภาษณ์สำหรับนักเรียนที่เริ่มเรียนภาษาอังกฤษ
ควรให้สัมภาษณ์เพื่อนหรือคนที่รู้จักก่อนที่สัมภาษณ์คนอื่น กิจกกรมการสัมภาษณ์ถือว่าเป็นกิจกรรมที่ซับซ้อนครูจึงต้องฝึกให้นักเรียนรู้จักใช้กลวิธีในการพูดเพื่อให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น และต้องช่วยเหลือนักเรียนโดยให้คำแนะนำเกี่ยวกับคำหรือประโยคที่ใช้ในการสัมภาษณ์ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
                Interview
            Sometimes you’ll need to interview people. In an interview, you generally ask a person a number of questions about one topic. (In a survey, you generally ask people the same question.)
            To begin an interview, you can say the following:
  • Excuse me. Could I ask you a few questions for class?
  • Hi. I am doing a project for my English class. May I ask you a few questions?
  • Hello. My name’s__________. May I ask you a few short questions for a project in my English class?
During the interview, do the following:
·         Listen to the answer.
·         Show interest. (say “Oh?” “Really?” “That’s interesting.”)
·         Take notes.
·         Don’t be shy. If you don’t understand something, ask the person to repeat.
  To end the interview, you can say the following:
·         Well, thanks a lot.
·         Thank you for your time.
·         Thanks for your help.
                      4.2  กิจกรรมช่องว่าระหว่างข้อมูลและจิ๊กซอ (information gap and jigsaw)
                             กิจกรรมช่องว่างระหว่างข้อมูลเป็นกิจกรรมแลกเปลี่ยนข้อมูลในขณะที่คนหนึ่งมีข้อมูล อีกคนหนึ่งไม่มี ทั้งคู่ต้องใช้ภาษาอังกฤษเพื่อขอและให้ข้อมูล เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ตามภารงานที่ครูกำหนดให้ ตัวอย่างกิจกรรมช่องว่าระหว่างข้อมูล เช่น นักเรียนคนหนึ่งบอกข้อมูลเกี่ยวกับครอบครัวของตนเอง ให้เพื่อนอีกคนหนึ่งฟังพร้อมกับเขียนไดอะแกรม family tree ตามที่เพื่อนบอก นอกจากจะเขียนเฉพาะชื่อของบุคคลในครอบครัวยังสามารถเติมรายละเอียดอย่างอื่น เช่น อาชีพ งานอดิเรก สิ่งที่ชอบไม่ชอบ เป็นต้น เมื่อเขียนเสร็จก็ช่วยกันตรวจสอบว่าตรงตามข้อมูลที่บอกหรือไม่ ข้อมูลส่วนใดที่ขาดหายไป ถ้าครูต้องการที่จะให้กิจกรรมนี้ได้ฝึกพูดมากขึ้นครูจะแนะนำการใช้กลวิธีการพูด ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว กิจกรรมนี้ควรให้นักเรียนนั่งแบบแทงโก้ เพราะว่าการนั่งแบบนี้คนที่บอกข้อมูลจะมองไม่เห็นว่าอีกคนเขียนอะไร ครูสามารถออกแบบภารงานกิจกรรมช่องว่างระหว่างข้อมูลดังตัวอย่างต่อไปนี้
Scan หน้า 46
                                กิจกรรมช่องว่างระหว่างข้อมูลที่น่าสนใจอีกเทคนิคหนึ่งคือกิจกรรมช่องว่างระหว่างข้อมูลเกี่ยวกับการบอกทิศทาง เช่นนักเรียนคนหนึ่งรู้ทางที่จะไปบ้านที่จักงานปาร์ตี้แต่อีกคนหนึ่งไม่รู้แต่ว่ามีแผนที่ทั่งสองคนจึงแลกเปลี่ยนข้อมูลกันเพื่อหาทางไปให้ถึงที่หมาย ก่อนที่จะทำกิจกรรมนี้นักเรียนต้องรู้คำศัพท์เกี่ยวกับทิศทาง เช่น turn right, turn left, go straight three blocks, at the corner  ดังตัวอย่าภารงานต่อไปนี้









Put It Together
A. Asking for and Given Direction. (Pair) Use the map on page… to ask for and give directions. You can look back at the sample conversations on page ….and use the expression in this box.


 Go down (or up) one/two/three/ blocks.
Turn left/right.                                              Make a left/right.
Go past the____________.                           It’s right there.
It’s right there on your left/right.                  It’s across from the_____________.
It’s on
Thorn Drive/Great Avenue/Third Street
.
It’s next to the _____________.
It’s on the corner of__________ and____________.
It’s in the middle of the block.


                               
ครูต้องอธิบายข้อที่ควรสังกตเกี่ยวกับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาในการบอกทิศทาง เช่นคนอเมริกัน ใช้คำว่า block  แทนการบอกข้อมูลเป็น street  นอกจากนักเรียนได้ทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนข้อมูลกันในห้องเรียนแล้ว ครูยังสามารถให้นักเรียนแลกเปลี่ยนข้อมูลทางโทรศัพย์ ซึ่งเป็นสถาณการณ์ที่ซับซ้อนขึ้นมาอีก เพราะขณะที่พูดนักเรียนไม่สามารถแสดงท่าทางประกอบการพูดหรือใช้แผนที่ได้ คู่สนทนาต้องใช้กลวิธีสื่อสารเพื่อให้สามารถสื่อความหมายได้
                       ส่วนกิจกรรมจิ๊กซอเป็นเทคนิคหนึ่งของกิจกรรมช่องว่างระหว่างข้อมูล เรียกว่ากิจกรรมช่องว่างระหว่างข้อมูลสองทาง (two-way information gap) เป็นกิจกรรมที่นักเรียนแต่ละคนมีข้อมูลของตนเองแต่ละคนนำข้อมูลของตนเองมาปะติดปะต่อกับคนอื่นๆเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ เช่น  นักเรียนคนหนึ่งมีแผนที่เมืองซานฟรานซิสโกและตารางเส้นทางเดินรถ อีกคนหนึ่งมีแผ่นพับสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจของเมืองนี้ ซึ่งมีรายละเอียดเวลาปิดเปิดและอัตราค่าเข้าชมด้วย นักเรียนทั้งสองแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อวางแผนเที่ยว 6 แห่งในเวลา 2 วัน
                3. บทสนทนาที่มีสคริป  ละคร และบทบาทสมมุติ
                    ละคร (drama) เป็นกิจกรรมที่สนุกสนานน่าสนใจที่ครูควรนำมาจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการพูดของนักเรียน ครูควรเลือกสคริปสั้นๆง่ายๆและสนุกสนานตรงตามความสนใจของนักเรียน ดังตัวอย่างต่อไปนี้


A Three-Act Play

Cast of characters:
The Knight                              The Princes
The Villain                              Two Doors (two students who stand facing each other  
                                                With their arms outstretched straight in front of them,
                                                 hands clasped.
The Villain’s Servant 


(knocking is heard)
Villain:  Go see who’s at the door.
Servant: Yes, master. (Opens the doors.)     
Doors: Crrreeak…
Servant: Who are you?  
Knight: (Bowing) I am the hero of this story.
Servant: Oh. (He closes the doors.)
Doors: Crrreeak…
Servants: He says he’s the hero of this story.
Villain: Curses!!! Well, find out what he wants.
Servant: (He opens the doors.)
Doors: Crrreeak…
Servant: What do you want?
Knight: I’ve come to rescue the princes.
Princes: Oh, my hero! (The knight bows, the princes curtsies.)
Villain: Curses! Throw him out!
Servant: (He turns to face the knight.) He says I must throw you out.
Knight: Ha! Not on your life.
Servant: My life?
Knight: Out of my way, you fool. (He draws his sword.)
Servant: (He steps back out of the knight’s path.)
Princes: (She clasps her hands and bats her eyelashes.) Oh, my hero.
              (The knight bows.)
Villain: Just what do you think you are doing?
Knight: I’m rescuing the princess.
Villain: Over my dead body!
Knight: Whatever you say. (He lunges at the villain, who steps aside. The knight        
              accidentally stabs the princes.)
Knight: Oops!
Villain: You fool!
Servant: Oh dear!
Princes: (Dying) My hero…..
Doors: Crrreeak…

Brrown, Jame. “ Promoting Fluency in EFL Classroom,” Jalt Pan-Sig. July 08, 2003.  http://www.jalt.org/pansig/2003/HTML/Brown.htm  April 17, 2006.
       
               









Brrown, Jame. “ Promoting Fluency in EFL Classroom,” Jalt Pan-Sig. July 08, 2003.  http://www.jalt.org/pansig/2003/HTML/Brown.htm  April 17, 2006.